เมื่อพูดถึงระบบการทำความเย็น หรือ Refrigeration แล้วนั้นส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามักพบในการปรับอากาศ เพื่อควบคุมความชื้น อุณหภูมิ และความสะอาดที่มีในอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างดี เกิดความสบายใจ ทว่าระบบทำความเย็นก็ยังมีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วย เพื่อสร้างความเย็นในการจัดเก็บรักษา โดยเฉพาะด้านอาหารที่จะทำให้การแช่แข็ง คงความสดเป็นเวลานาน

หลักการของระบบการทำความเย็น เรื่องต้องรู้และเข้าใจ

ระบบการทำความเย็น หรือ Refrigeration คือ การทำให้สารซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวกลางได้เปลี่ยนสถานะโดยจะนำเอาความร้อนเข้ามาแฝงด้วย จากนั้นสารก็จะแปรเปลี่ยนเป็นสถานะของเหลว และกลายเป็นไอน้ำไป ก่อนที่อุณหภูมิบริเวณรอบจะลดลงและเกิดเป็นความเย็นชื้นขึ้นมา

โดยขั้นตอนการทำความเย็นมีจุดเริ่มต้นที่คอยล์เย็นดูดความร้อนบริเวณรอบเข้ามา เพื่อให้เกิดเป็นสารทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอน้ำ โดยสารทำความเย็นนี้จะดูดเอาความร้อน ซึ่งความร้อนแฝงที่ว่าเป็นการเกิดจากการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นกลายเป็นไอที่จับกับวัตถุใกล้เคียงกับคอยล์เย็น ผ่านกระบวนการความร้อน แผ่นรังสี หรือพาความร้อนด้วย ทำให้สารความเย็นที่มีนั้นอุณหภูมิสูงขึ้น และความดันต่ำลง
จากนั้นสารทำความเย็นที่เปลี่ยนสถานะความร้อนเป็นไอน้ำถูกนำส่งไปที่เครื่องอัด ก่อนส่งไปคอยล์ร้อนที่อัดสารความเย็นให้มีความดันสูง ทำให้สารทำความร้อนเย็นตัว เกิดการควบแน่นทำความเย็นและกลับมาเป็นสถานะของเหลว จากนั้นสารจึงถูกส่งไปที่วาล์วลดความดัน เพื่อให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำ เกิดการระเหยในจุดที่อุณหภูมิต่ำคอยล์เย็น เกิดการทำงานวนซ้ำ ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ

ประเภทระบบการทำความเย็นของเครื่องทำความเย็น

สำหรับระบบการทำความเย็น หรือ Refrigeration จะแบ่งได้หลากหลาย ตามชนิดของตัวปรับอัตราการไหลของสารที่ทำให้เกิดความเย็น หรือแบ่งตามชนิดของสารทำความเย็นที่มีเป็นตัวกลาง หรือแบ่งตามการควบคุมมอเตอร์ ฯลฯ โดยประเภทของเครื่องทำความเย็นจะแบ่งออกเป็น

  • – ระบบทำความเย็นที่ทำให้สารทำความเย็นระเหย
  • – ระบบทำความเย็นแบบคอมเพรสเซอร์อัดไอ หรือความเย็นแบบอัดไอ
  • – ระบบทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็งแห้ง
  • – ระบบทำความเย็นแบบดูดซึม หรือแอบซอร์ปชั่น
  • – ระบบทำความเย็นแบบสตีมเจ็ต
  • – ระบบทำความเย็นแบบใช้เทอร์โมอิเล็กทริก
  • – ระบบทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็ง
  • – ระบบทำความเย็นแบบระเหยตัวของน้ำ

ทั้งนี้ อุปกรณ์หลักของระบบเครื่องทำความเย็นก็มีหลากหลายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น คอมเพรสเซอร์ ที่อัดความดันของสารที่มีสถานะรูปแบบไอน้ำ เพื่อส่งไปที่คอนเดนเซอร์ ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อน ต่อมาคือรีซีฟเวอร์ กรองสิ่งสกปรก ความชื่นที่ปนในสารทำความเย็น วาล์วลดความดันที่ทำให้ทั้งอุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นลดลง เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็นที่จะแลกเปลี่ยนความร้อนที่ทำให้เกิดความเย็น และสารทำความเย็นที่จะเปลี่ยนสถานะสลับไปมาระหว่างไอน้ำและของเหลว

แนะนำการดูแลรักษาระบบการทำความเย็นแบบเบื้องต้น

ในส่วนของการดูแลรักษาระบบการทำความเย็นก็เป็นสิ่สำคัญที่ควรค่าและห้ามละเลยอย่างที่สุด โดยที่ต้องเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาดที่มีของอุปกรณ์ทั้งหมด โดยต้องตรวจสอบการตั้งค่าอุณหภูมิทุกครั้งด้วย และต้องละลายน้ำแข็งให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เครื่องทำงานที่หนักมากจนเกินไป

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปิดเครื่องหลังการใช้งานแล้ว เป็นการพักเครื่องในตัว อย่าลืมตรวจสอบยูนิต เพื่อดูว่ามีการรั่วไหลหรือไม่ หากมีให้ส่งซ่อมทันที สุดท้ายคือตรวจสอบอุปกรณ์และประสิทธิภาพของระบบก่อนใช้งานทุกครั้ง
อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่มีการนำระบบการทำความเย็นมาใช้งานก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การผลิตอาหาร, การผลิตในงานอุตสาหกรรม, การเก็บรักษาอาหาร, การปรับอากาศ, การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง เพื่อไม่ทำให้เกิดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีแบคทีเรียมาเจริญเติบโตเพราะหากเป็นแบบนั้นอาจส่งผลต่อค่าใช้จ่ายมากมาย จึงมีความสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมอย่างที่สุด